บทความน่ารู้
แก้ไขล่าสุดเมื่อ:
29/05/2020
ทำธุรกิจ “แฟรนไชส์” ไม่ยาก หากทำตาม 6 ข้อนี้ รับรองรุ่งแน่!
อ่าน 372 ครั้ง •Food Truck ไม่ต้องมีหน้าร้านก็มีลูกค้าประจำได้
อ่าน 548 ครั้ง •8 อุตสาหกรรมที่ดีสำหรับการเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพ
อ่าน 378 ครั้ง •ธุรกิจฮอตฮิตเกิดใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกในเดือน พ.ค. 2562 คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ
อ่าน 275 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 1103 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1635 ครั้ง •“สิงคโปร์” แซง “สหรัฐ” ขึ้นแท่นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในโลก
อ่าน 377 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 5228 ครั้ง •เช็คลิสต์ โมเดลธุรกิจที่เหมาะกับการทำ อีคอมเมิร์ซ (eCommerce)
อ่าน 628 ครั้ง •ขายของออนไลน์ ทำอย่างไรให้รวย
อ่าน 413 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 906 ครั้ง •การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
อ่าน 691 ครั้ง •การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า – อย่าปล่อยให้โลโก้โดนขโมย
อ่าน 669 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 2537 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1941 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 793 ครั้ง •ผู้ประกอบการ SMEs เมื่อไหร่ ที่ต้องมีแบรนด์
อ่าน 310 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 7003 ครั้ง •แอ็พพลิเคชั่น (Application) เพื่อสมาร์ทฟาร์เมอร์ – เกษตรกรแห่งอนาคต
อ่าน 618 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 1090 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 7003 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 5228 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจอาหาร
อ่าน 2831 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 2537 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1941 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1635 ครั้ง •เขียนแผนธุรกิจอย่างไรให้โดน
อ่าน 1137 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 1103 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 1090 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 906 ครั้ง •Business Model Canvas เครื่องมือสร้างโมเดลธุรกิจ
อ่าน 818 ครั้ง •เงินสดหมุนเวียน หัวใจของธุรกิจ SMEs
อ่าน 813 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 793 ครั้ง •การวางแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการ
อ่าน 742 ครั้ง •การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์
อ่าน 725 ครั้ง •E - COMMERCE สำหรับสินค้า OTOP
อ่าน 704 ครั้ง •การเขียนแผนธุรกิจเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน
อ่าน 704 ครั้ง •สาเหตุอะไรที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้
อ่าน 698 ครั้ง •การปรับโครงสร้างหนี้
อ่าน 695 ครั้ง •การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
อ่าน 691 ครั้ง •การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
23 มกราคม 2562
24 | การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
ก.ล.ต.หนุน SMEs ใช้ Crowdfunding เพิ่มทางเลือกในการระดมทุน โดยกำหนดมูลค่าที่จะระดมทุนจากผู้ลงทุนรายย่อยได้รวมไม่เกินบริษัทละ 40 ล้านบาท โดยในปีแรกต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเสนอขายหุ้นผ่าน funding portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.เท่านั้น
คุณปะราลี สุคนธมาน ผู้ช่วยเลขาธิการ สายธุรกิจตัวกลางและตลาดสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.เตรียมปรับหลักเกณฑ์การลงทุนใน Crowdfunding เพื่อสนับสนุนการลงทุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างสะดวกรวดเร็วด้วยต้นทุนที่ตํ่า
โดยทาง ก.ล.ต.จะมีการปรับหลักเกณฑ์สำหรับการลงทุนใน Crowdfunding ให้ยืดหยุ่นขึ้น หลังจากหลักเกณฑ์เดิมสำหรับการลงทุนมีความเข้มงวดมากเกินไป ส่งผลให้การลงทุนใน Crowdfunding เกิดขึ้นได้ยาก ทั้งนี้ คาดว่าหลักเกณฑ์ใหม่จะแล้วเสร็จ และสามารถนำมาใช้ได้ในช่วงเดือน ก.พ.59
ทั้งนี้ Equity Crowdfunding เป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ SMEs หรือ business startup (issuer) สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ด้วยการให้หุ้นของบริษัทเป็นสิ่งตอบแทนแก่มวลชน (the crowd) ที่ลงทุนกันคนละเล็กละน้อยผ่านเว็บไซต์ตัวกลาง (funding portal)
โดยมีมูลค่าการระดมทุน (issue size) ที่ไม่สูงมาก ดังนั้น Equity Crowdfunding จึงเหมาะต่อการระดมทุนของบริษัทที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นที่ไม่ต้องการทุนมากนัก โดยการที่ Equity Crowdfunding ให้หุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทเป็นสิ่งตอบแทนแก่ผู้ลงทุน จึงถือเป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนรูปแบบหนึ่งที่จะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.
อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก SMEs ส่วนใหญ่แม้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่ปัจจุบันอาจมีปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ไม่มีหลักประกันที่เอามาใช้ในการกู้ยืม ดังนั้น ก.ล.ต.จึงได้มีนโยบายสนับสนุนให้ SMEs มีช่องทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากตลาดทุนเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน การกำกับดูแลจะต้องไม่สร้างภาระ และต้นทุนที่สูงจนเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนของ SMEs ในขณะเดียวกัน ผู้ลงทุนยังต้องได้รับความคุ้มครองในระดับที่เหมาะสม
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต.จึงใช้แนวทางกำกับดูแลแบบผ่อนคลายสำหรับการเสนอขายหุ้นแบบ Equity Crowdfunding กล่าวคือ ในด้านบริษัทที่เสนอขายหุ้นบริษัทที่ต้องการระดมทุน (ซึ่งเป็นได้ทั้งบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด) จะต้องเสนอขายหุ้นผ่าน funding portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.เท่านั้น จึงจะถือว่าการเสนอขายหุ้นได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.
โดยบริษัทมีหน้าที่ และรับผิดชอบเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตัวบริษัท และการนำเงินไปใช้ในโครงการโดยที่ ก.ล.ต.จะไม่ได้เข้าไปกลั่นกรองคุณสมบัติของบริษัทที่เสนอขายหุ้น ดังนั้น funding portal จึงมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่คัดสรรบริษัทที่น่าเชื่อถือมาเสนอขายหุ้นจัดให้มีช่องทางรองรับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท การจองซื้อหุ้น และการสื่อสารระหว่างบริษัท และผู้ลงทุนรวมทั้งการให้ความรู้แก่สมาชิกที่เข้ามาลงทุน
สำหรับในด้านผู้ลงทุนนั้น เนื่องจากธุรกิจที่เข้ามาระดมทุนด้วยวิธี Equity Crowdfunding เป็นธุรกิจที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงยังมีความเสี่ยงสูงต่อความอยู่รอดของธุรกิจ และหากเป็น startup โอกาสที่จะประสบความสำเร็จภายใต้โครงการอาจจะไม่มากนัก (ในต่างประเทศมีความสำเร็จเฉลี่ยเพียง 20-30%) ในขณะที่อาจสามารถสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนได้สูงมากจนคุ้มต่อส่วนที่สูญเสียไป
ดังนั้น ผู้ที่ต้องการลงทุนผ่านช่องทางนี้จึงต้องเข้าใจถึงความเสี่ยง และดูแลตนเองมากขึ้น โดย ก.ล.ต.ได้ออกเกณฑ์มาเพื่อจำกัดระดับความเสี่ยง หรือความเสียหายในการลงทุนไว้ในระดับหนึ่ง ทั้งในรูปของวงเงินการลงทุน (investment limit) สำหรับนักลงทุนรายย่อย และวงเงินการระดมทุน (issue size) สำหรับผู้ระดมทุน
แม้ว่า ก.ล.ต.จะมีกฎเกณฑ์ที่ช่วยจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ลงทุนรายย่อยไว้ก็ตาม แต่ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจต่อความเสี่ยงของธุรกิจ และการลงทุนแบบ Equity Crowdfunding ด้วย เช่น ความเสี่ยงที่อาจจะสูญเงินจากการลงทุนทั้งจำนวน บริษัทอาจจะจ่าย หรือไม่จ่ายเงินปันผลก็ได้ หุ้นที่ซื้อไม่มีตลาดรอง เป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือให้นักลงทุนรายย่อยได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงที่กล่าว ก.ล.ต.จึงได้กำหนดให้ funding portal จะต้องจัดทำการทดสอบความรู้ด้านการลงทุน (Knowledge Test) เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยง รวมทั้งเตือนให้ผู้ลงทุนให้ระมัดระวังก่อนตัดสินใจลงทุนอีกทางหนึ่งด้วย
โดยปัจจุบัน แม้ว่า ก.ล.ต.ได้ออกกฎเกณฑ์รองรับ Equity Crowdfunding แล้วก็ตาม แต่ความสำเร็จของ Equity Crowdfunding จะต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่
(1) Funding Portal ซึ่งจะทำหน้าที่คัดสรรบริษัทที่น่าเชื่อถือมาระดมทุน (ทั้งในด้านของการทำธุรกิจ และการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน) จัดให้มี platform การเปิดเผยข้อมูล และจองซื้อหุ้นที่เชื่อถือได้ รวมถึงจัดให้มีช่องทางให้ผู้ระดมทุนกับผู้ลงทุนได้สื่อสารกัน
(2) Issuer ที่มีความตั้งใจจริงที่จะนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนไปดำเนินงานตามแผนธุรกิจที่ได้นำเสนอไว้ และสื่อสารเป็นระยะเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามความคืบหน้าของบริษัท
(3) Investor ที่มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนผ่าน Equity Crowdfunding รวมทั้งรับผิดชอบในการประเมินตัวเองว่า ยอมรับความเสี่ยงเหล่านั้นได้หรือไม่ก่อนที่จะลงทุน
อนึ่ง การลงทุนใน Crowdfunding จำกัดเฉพาะกรณีนักลงทุนรายย่อย โดยกำหนดวงเงินให้ลงทุนได้ไม่เกินรายละ 50,000 บาทต่อบริษัท และรวมแล้วไม่เกินปีละ 500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการระดมทุนจากผู้ลงทุนที่มีความรู้ และประสบการณด้านการลงทุนอยู่แล้ว (non-retail investors) เช่น ผู้ลงทุนสถาบัน Venture capital ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นต้น จะไม่มีข้อจำกัดในด้านวงเงินการลงทุน
สำหรับการจำกัดวงเงินเฉพาะการระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อย โดยกำหนดมูลค่าที่บริษัทจะระดมทุนจากผู้ลงทุนรายย่อยได้รวมไม่เกินบริษัทละ 40 ล้านบาท โดยในปีแรกต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการระดมทุนจากผู้ลงทุนที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านการลงทุนอยู่แล้ว (non-retail investors) จะไม่มีข้อจำกัดในด้านวงเงินการระดมทุน
ก.ล.ต. ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าส่งเสริมภาคธุรกิจ ระดมทุนผ่าน Crowdfunding
ก.ล.ต. และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าร่วมสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และธุรกิจเกิดใหม่ใช้ Crowdfunding เป็นเครื่องมือในการระดมทุน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน สะดวกรวดเร็ว ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า สร้างความเข้มแข็งแก่ธุรกิจ พร้อมรับ AEC และการเชื่อมโยงในระดับสากล
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) คิดเป็นร้อยละ 95 ของธุรกิจทั้งหมด และมีการจ้างงานกว่าร้อยละ 50 ของธุรกิจทั้งหมด SMEs จึงมีความสำคัญต่อการสร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศÝ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ จึงต้องส่งเสริมให้ SMEs และธุรกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจบนฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้าถึงแหล่งทุน สะดวกรวดเร็ว ด้วยต้นทุนที่ต่ำ เพื่อให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตเข้มแข็งต่อไป
Crowdfunding เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ให้ธุรกิจเหล่านี้เข้าถึงแหล่งทุน โดยผ่านการระดมทุนจากคนจำนวนมาก แต่ละคนลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อย ผ่านตัวกลางบนระบบอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า funding portal ในปี 2557 ทั่วโลกมีการระดมทุนด้วยวิธีนี้รวมมูลค่าสูงถึงประมาณ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ก.ล.ต. จะกำกับดูแลการระดมทุนผ่าน Crowdfunding ในลักษณะของการออกเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน (equity-based) ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการกำกับตลาดทุนได้มีมติเห็นชอบหลักการกำกับดูแล equity-based crowdfunding แล้ว โดยมีหลักการสำคัญ อาทิ ผู้ระดมทุนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือเป็นบริษัทจำกัด เสนอขายหุ้นผ่าน funding portal ที่ ก.ล.ต ให้ความเห็นชอบ และมีการเปิดเผยข้อมูลตามที่ funding portal พิจารณา โดย funding portal เป็นผู้คัดกรองและเผยแพร่ข้อมูลของกิจการที่ต้องการระดมทุนและดูแลเงินค่าจองซื้อหุ้น ในขณะที่ผู้สนใจลงทุนจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของ funding portal ซึ่งจะเข้าดูข้อมูลการเสนอขายหุ้นได้ รวมทั้งต้องทำแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงให้ผ่านก่อนจึงจะลงทุนได้ โดยเปิดให้ผู้ลงทุนรายบุคคลซื้อหุ้นได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อ 1 บริษัท และไม่เกิน 500,000 บาทในรอบ 12 เดือน รวมทั้งสามารถยกเลิกการจองซื้อได้ตลอดระยะเวลา ยกเว้นช่วงระยะเวลาเสนอขายเหลือน้อยกว่า 48 ชั่วโมง
นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า "กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ ปัจจุบันมีนิติบุคคลที่จดทะเบียนและคงอยู่จำนวน 600,000 ราย ซึ่งธุรกิจที่จะระดมทุน Crowdfunding จะต้องมีตัวตนชัดเจน จดทะเบียนถูกต้อง มีระบบการบริหารจัดการที่ดี จัดทำข้อมูลทางการเงินถูกต้อง และสามารตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือทำให้ผู้ลงทุนมองเห็นโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนและคืนทุนกรมพัฒนาธุรกิจการค้ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ดำเนินการร่วมกับ ก.ล.ต. ในการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจไทยให้มี ขีดความสามารถในการแข่งขันและเติบโตพร้อมก้าวสู่เวทีการค้าในทุกระดับ”
* ที่มา: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (วันที่ 2 เม.ย. 2558)
http://www.dbd.go.th/ewt_news.php%3Fnid%3D11559%26filename%3Dindex+&cd=7&hl=th&ct=clnk&gl=th
แหล่งข้อมูล :
การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
ก.ล.ต.เดินหน้าหนุน SMEs ใช้ Crowdfunding เพิ่มทางเลือกในการระดมทุน
ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560
23 มกราคม 2562
24 | การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
ก.ล.ต.หนุน SMEs ใช้ Crowdfunding เพิ่มทางเลือกในการระดมทุน โดยกำหนดมูลค่าที่จะระดมทุนจากผู้ลงทุนรายย่อยได้รวมไม่เกินบริษัทละ 40 ล้านบาท โดยในปีแรกต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเสนอขายหุ้นผ่าน funding portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.เท่านั้น
คุณปะราลี สุคนธมาน ผู้ช่วยเลขาธิการ สายธุรกิจตัวกลางและตลาดสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.เตรียมปรับหลักเกณฑ์การลงทุนใน Crowdfunding เพื่อสนับสนุนการลงทุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างสะดวกรวดเร็วด้วยต้นทุนที่ตํ่า
โดยทาง ก.ล.ต.จะมีการปรับหลักเกณฑ์สำหรับการลงทุนใน Crowdfunding ให้ยืดหยุ่นขึ้น หลังจากหลักเกณฑ์เดิมสำหรับการลงทุนมีความเข้มงวดมากเกินไป ส่งผลให้การลงทุนใน Crowdfunding เกิดขึ้นได้ยาก ทั้งนี้ คาดว่าหลักเกณฑ์ใหม่จะแล้วเสร็จ และสามารถนำมาใช้ได้ในช่วงเดือน ก.พ.59
ทั้งนี้ Equity Crowdfunding เป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ SMEs หรือ business startup (issuer) สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ด้วยการให้หุ้นของบริษัทเป็นสิ่งตอบแทนแก่มวลชน (the crowd) ที่ลงทุนกันคนละเล็กละน้อยผ่านเว็บไซต์ตัวกลาง (funding portal)
โดยมีมูลค่าการระดมทุน (issue size) ที่ไม่สูงมาก ดังนั้น Equity Crowdfunding จึงเหมาะต่อการระดมทุนของบริษัทที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นที่ไม่ต้องการทุนมากนัก โดยการที่ Equity Crowdfunding ให้หุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทเป็นสิ่งตอบแทนแก่ผู้ลงทุน จึงถือเป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนรูปแบบหนึ่งที่จะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.
อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก SMEs ส่วนใหญ่แม้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่ปัจจุบันอาจมีปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ไม่มีหลักประกันที่เอามาใช้ในการกู้ยืม ดังนั้น ก.ล.ต.จึงได้มีนโยบายสนับสนุนให้ SMEs มีช่องทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากตลาดทุนเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน การกำกับดูแลจะต้องไม่สร้างภาระ และต้นทุนที่สูงจนเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนของ SMEs ในขณะเดียวกัน ผู้ลงทุนยังต้องได้รับความคุ้มครองในระดับที่เหมาะสม
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต.จึงใช้แนวทางกำกับดูแลแบบผ่อนคลายสำหรับการเสนอขายหุ้นแบบ Equity Crowdfunding กล่าวคือ ในด้านบริษัทที่เสนอขายหุ้นบริษัทที่ต้องการระดมทุน (ซึ่งเป็นได้ทั้งบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด) จะต้องเสนอขายหุ้นผ่าน funding portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.เท่านั้น จึงจะถือว่าการเสนอขายหุ้นได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.
โดยบริษัทมีหน้าที่ และรับผิดชอบเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตัวบริษัท และการนำเงินไปใช้ในโครงการโดยที่ ก.ล.ต.จะไม่ได้เข้าไปกลั่นกรองคุณสมบัติของบริษัทที่เสนอขายหุ้น ดังนั้น funding portal จึงมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่คัดสรรบริษัทที่น่าเชื่อถือมาเสนอขายหุ้นจัดให้มีช่องทางรองรับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท การจองซื้อหุ้น และการสื่อสารระหว่างบริษัท และผู้ลงทุนรวมทั้งการให้ความรู้แก่สมาชิกที่เข้ามาลงทุน
สำหรับในด้านผู้ลงทุนนั้น เนื่องจากธุรกิจที่เข้ามาระดมทุนด้วยวิธี Equity Crowdfunding เป็นธุรกิจที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงยังมีความเสี่ยงสูงต่อความอยู่รอดของธุรกิจ และหากเป็น startup โอกาสที่จะประสบความสำเร็จภายใต้โครงการอาจจะไม่มากนัก (ในต่างประเทศมีความสำเร็จเฉลี่ยเพียง 20-30%) ในขณะที่อาจสามารถสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนได้สูงมากจนคุ้มต่อส่วนที่สูญเสียไป
ดังนั้น ผู้ที่ต้องการลงทุนผ่านช่องทางนี้จึงต้องเข้าใจถึงความเสี่ยง และดูแลตนเองมากขึ้น โดย ก.ล.ต.ได้ออกเกณฑ์มาเพื่อจำกัดระดับความเสี่ยง หรือความเสียหายในการลงทุนไว้ในระดับหนึ่ง ทั้งในรูปของวงเงินการลงทุน (investment limit) สำหรับนักลงทุนรายย่อย และวงเงินการระดมทุน (issue size) สำหรับผู้ระดมทุน
แม้ว่า ก.ล.ต.จะมีกฎเกณฑ์ที่ช่วยจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ลงทุนรายย่อยไว้ก็ตาม แต่ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจต่อความเสี่ยงของธุรกิจ และการลงทุนแบบ Equity Crowdfunding ด้วย เช่น ความเสี่ยงที่อาจจะสูญเงินจากการลงทุนทั้งจำนวน บริษัทอาจจะจ่าย หรือไม่จ่ายเงินปันผลก็ได้ หุ้นที่ซื้อไม่มีตลาดรอง เป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือให้นักลงทุนรายย่อยได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงที่กล่าว ก.ล.ต.จึงได้กำหนดให้ funding portal จะต้องจัดทำการทดสอบความรู้ด้านการลงทุน (Knowledge Test) เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยง รวมทั้งเตือนให้ผู้ลงทุนให้ระมัดระวังก่อนตัดสินใจลงทุนอีกทางหนึ่งด้วย
โดยปัจจุบัน แม้ว่า ก.ล.ต.ได้ออกกฎเกณฑ์รองรับ Equity Crowdfunding แล้วก็ตาม แต่ความสำเร็จของ Equity Crowdfunding จะต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่
(1) Funding Portal ซึ่งจะทำหน้าที่คัดสรรบริษัทที่น่าเชื่อถือมาระดมทุน (ทั้งในด้านของการทำธุรกิจ และการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน) จัดให้มี platform การเปิดเผยข้อมูล และจองซื้อหุ้นที่เชื่อถือได้ รวมถึงจัดให้มีช่องทางให้ผู้ระดมทุนกับผู้ลงทุนได้สื่อสารกัน
(2) Issuer ที่มีความตั้งใจจริงที่จะนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนไปดำเนินงานตามแผนธุรกิจที่ได้นำเสนอไว้ และสื่อสารเป็นระยะเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามความคืบหน้าของบริษัท
(3) Investor ที่มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนผ่าน Equity Crowdfunding รวมทั้งรับผิดชอบในการประเมินตัวเองว่า ยอมรับความเสี่ยงเหล่านั้นได้หรือไม่ก่อนที่จะลงทุน
อนึ่ง การลงทุนใน Crowdfunding จำกัดเฉพาะกรณีนักลงทุนรายย่อย โดยกำหนดวงเงินให้ลงทุนได้ไม่เกินรายละ 50,000 บาทต่อบริษัท และรวมแล้วไม่เกินปีละ 500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการระดมทุนจากผู้ลงทุนที่มีความรู้ และประสบการณด้านการลงทุนอยู่แล้ว (non-retail investors) เช่น ผู้ลงทุนสถาบัน Venture capital ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นต้น จะไม่มีข้อจำกัดในด้านวงเงินการลงทุน
สำหรับการจำกัดวงเงินเฉพาะการระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อย โดยกำหนดมูลค่าที่บริษัทจะระดมทุนจากผู้ลงทุนรายย่อยได้รวมไม่เกินบริษัทละ 40 ล้านบาท โดยในปีแรกต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการระดมทุนจากผู้ลงทุนที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านการลงทุนอยู่แล้ว (non-retail investors) จะไม่มีข้อจำกัดในด้านวงเงินการระดมทุน
ก.ล.ต. ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าส่งเสริมภาคธุรกิจ ระดมทุนผ่าน Crowdfunding
ก.ล.ต. และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าร่วมสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และธุรกิจเกิดใหม่ใช้ Crowdfunding เป็นเครื่องมือในการระดมทุน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน สะดวกรวดเร็ว ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า สร้างความเข้มแข็งแก่ธุรกิจ พร้อมรับ AEC และการเชื่อมโยงในระดับสากล
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) คิดเป็นร้อยละ 95 ของธุรกิจทั้งหมด และมีการจ้างงานกว่าร้อยละ 50 ของธุรกิจทั้งหมด SMEs จึงมีความสำคัญต่อการสร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศÝ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ จึงต้องส่งเสริมให้ SMEs และธุรกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจบนฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้าถึงแหล่งทุน สะดวกรวดเร็ว ด้วยต้นทุนที่ต่ำ เพื่อให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตเข้มแข็งต่อไป
Crowdfunding เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ให้ธุรกิจเหล่านี้เข้าถึงแหล่งทุน โดยผ่านการระดมทุนจากคนจำนวนมาก แต่ละคนลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อย ผ่านตัวกลางบนระบบอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า funding portal ในปี 2557 ทั่วโลกมีการระดมทุนด้วยวิธีนี้รวมมูลค่าสูงถึงประมาณ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ก.ล.ต. จะกำกับดูแลการระดมทุนผ่าน Crowdfunding ในลักษณะของการออกเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน (equity-based) ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการกำกับตลาดทุนได้มีมติเห็นชอบหลักการกำกับดูแล equity-based crowdfunding แล้ว โดยมีหลักการสำคัญ อาทิ ผู้ระดมทุนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือเป็นบริษัทจำกัด เสนอขายหุ้นผ่าน funding portal ที่ ก.ล.ต ให้ความเห็นชอบ และมีการเปิดเผยข้อมูลตามที่ funding portal พิจารณา โดย funding portal เป็นผู้คัดกรองและเผยแพร่ข้อมูลของกิจการที่ต้องการระดมทุนและดูแลเงินค่าจองซื้อหุ้น ในขณะที่ผู้สนใจลงทุนจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของ funding portal ซึ่งจะเข้าดูข้อมูลการเสนอขายหุ้นได้ รวมทั้งต้องทำแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงให้ผ่านก่อนจึงจะลงทุนได้ โดยเปิดให้ผู้ลงทุนรายบุคคลซื้อหุ้นได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อ 1 บริษัท และไม่เกิน 500,000 บาทในรอบ 12 เดือน รวมทั้งสามารถยกเลิกการจองซื้อได้ตลอดระยะเวลา ยกเว้นช่วงระยะเวลาเสนอขายเหลือน้อยกว่า 48 ชั่วโมง
นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า "กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ ปัจจุบันมีนิติบุคคลที่จดทะเบียนและคงอยู่จำนวน 600,000 ราย ซึ่งธุรกิจที่จะระดมทุน Crowdfunding จะต้องมีตัวตนชัดเจน จดทะเบียนถูกต้อง มีระบบการบริหารจัดการที่ดี จัดทำข้อมูลทางการเงินถูกต้อง และสามารตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือทำให้ผู้ลงทุนมองเห็นโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนและคืนทุนกรมพัฒนาธุรกิจการค้ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ดำเนินการร่วมกับ ก.ล.ต. ในการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจไทยให้มี ขีดความสามารถในการแข่งขันและเติบโตพร้อมก้าวสู่เวทีการค้าในทุกระดับ”
* ที่มา: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (วันที่ 2 เม.ย. 2558)
http://www.dbd.go.th/ewt_news.php%3Fnid%3D11559%26filename%3Dindex+&cd=7&hl=th&ct=clnk&gl=th
แหล่งข้อมูล :
การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
ก.ล.ต.เดินหน้าหนุน SMEs ใช้ Crowdfunding เพิ่มทางเลือกในการระดมทุน
ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560
การอ่าน | |
---|---|
691 | ครั้ง (ทั้งหมด) |
0 | ครั้ง โดยสมาชิก |
691 | ครั้ง โดยสาธารณะ |
แชร์ด้วยอีเมล
กรุณา ลงชื่อเข้าระบบ เพิ่มแชร์เนื้อหานี้ webpage ทางอีเมล