บทความน่ารู้
แก้ไขล่าสุดเมื่อ:
29/05/2020
ทำธุรกิจ “แฟรนไชส์” ไม่ยาก หากทำตาม 6 ข้อนี้ รับรองรุ่งแน่!
อ่าน 371 ครั้ง •Food Truck ไม่ต้องมีหน้าร้านก็มีลูกค้าประจำได้
อ่าน 546 ครั้ง •8 อุตสาหกรรมที่ดีสำหรับการเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพ
อ่าน 377 ครั้ง •ธุรกิจฮอตฮิตเกิดใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกในเดือน พ.ค. 2562 คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ
อ่าน 274 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 1102 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1631 ครั้ง •“สิงคโปร์” แซง “สหรัฐ” ขึ้นแท่นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในโลก
อ่าน 375 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 5215 ครั้ง •เช็คลิสต์ โมเดลธุรกิจที่เหมาะกับการทำ อีคอมเมิร์ซ (eCommerce)
อ่าน 627 ครั้ง •ขายของออนไลน์ ทำอย่างไรให้รวย
อ่าน 412 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 905 ครั้ง •การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
อ่าน 688 ครั้ง •การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า – อย่าปล่อยให้โลโก้โดนขโมย
อ่าน 667 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 2533 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1938 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 792 ครั้ง •ผู้ประกอบการ SMEs เมื่อไหร่ ที่ต้องมีแบรนด์
อ่าน 309 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 6997 ครั้ง •แอ็พพลิเคชั่น (Application) เพื่อสมาร์ทฟาร์เมอร์ – เกษตรกรแห่งอนาคต
อ่าน 616 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 1087 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 6997 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 5215 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจอาหาร
อ่าน 2827 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 2533 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1938 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1631 ครั้ง •เขียนแผนธุรกิจอย่างไรให้โดน
อ่าน 1135 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 1102 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 1087 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 905 ครั้ง •Business Model Canvas เครื่องมือสร้างโมเดลธุรกิจ
อ่าน 813 ครั้ง •เงินสดหมุนเวียน หัวใจของธุรกิจ SMEs
อ่าน 812 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 792 ครั้ง •การวางแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการ
อ่าน 741 ครั้ง •การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์
อ่าน 724 ครั้ง •E - COMMERCE สำหรับสินค้า OTOP
อ่าน 703 ครั้ง •การเขียนแผนธุรกิจเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน
อ่าน 703 ครั้ง •สาเหตุอะไรที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้
อ่าน 697 ครั้ง •การปรับโครงสร้างหนี้
อ่าน 694 ครั้ง •การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
อ่าน 688 ครั้ง •18 | ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
FinTech คืออะไร[1]
ฟินเทค กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงกับระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเงินโลก บทความชุด “ฟินเทคเปลี่ยนโลก” ชุดนี้จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จัก Mega Trend ในเรื่องนี้กันครับ ซึ่งเริ่มต้นในตอนแรกเราไปรู้จักกันก่อนเลยครับว่าเจ้าฟินเทคนี่มันคืออะไรกันแน่
Fintech คือการผสมระหว่างคำว่า Finance กับคำว่า Technology หรือการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะระบบการสื่อสารออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจด้านการเงิน การธนาคาร และการลงทุน โดยมากกว่าการประยุกต์แล้วในหลายครั้งยังเป็นการ Disrupt ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากแบบเดิมไปสู่สิ่งใหม่อีกด้วย คล้ายๆ กับวันที่ Apple ผลิต iPhone ออกมาและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคจากการใช้มือถือแบบมีปุ่มกดเป็นมือถือระบบสัมผัสอย่างนั้นน่ะครับ ส่วน Startup นั้นหมายถึงการเกิดขึ้นของธุรกิจซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องของเทคโนโลยี ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมสำหรับผู้บริโภคที่สามารถทำการขยายได้ในวงกว้าง
สำหรับ Fintech ในเมืองไทย ตื่นตัวกันมาซักพัก มาปีนี้เรียกว่าคึกคักกันเป็นอย่างมากครับ ตัวอย่างที่ใกล้ตัวมาก ๆ เช่น การใช้โปรแกรม Streaming ในการซื้อขายหุ้นที่เริ่มมีความนิยมในการใช้เทรดหุ้น แทนการซื้อขายในห้องค้ามากขึ้น บริษัทอย่าง StockRadar ที่ทำโปรแกรมทางมือถือสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยในการซื้อขายหุ้น ระบบ Payment API อย่าง Omise รวมไปถึงระบบ Crowd Funding ซึ่งเป็นวิธีการระดมทุนผ่านระบบ Online ซึ่งล่าสุดทางสำนักงาน กลต.ก็ได้ออกกฎหมายมารองรับแล้ว
ผมเคยได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ Jamie Dimon ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ JPMorgan ซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก ท่านพูดเลยว่าคู่แข่งสำคัญของ JPMorgan ที่สำคัญจากนี้ไปไม่ใช่ธนาคารใหญ่ๆ ในอเมริกาอีกต่อไปแล้วแต่เป็นเหล่าบริษัท Fintech Startup ที่กำลังบ่มเพาะกันอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะในแถบ Silicon Valley ในสหรัฐ
ผมมองว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นแน่ครับ อยู่ที่ว่าจะเร็วหรือช้าเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระบบการชำระเงินด้วยเครดิต จากเดิมที่ยักษ์ใหญ่ในโลกคือ VISA แต่เดี๋ยวนี้ มีระบบการชำระเงินใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่าง Blockchain ซึ่งมีค่าธรรมเนียมถูกกว่ามาก ในธุรกิจซื้อขายหุ้นก็เช่นกัน เริ่มมีบริษัท Fintech หลายเจ้า อย่างเช่น Robinhood ซึ่งให้บริการซื้อขายหุ้นแบบ Zero Commission ซึ่งก็เติบโตเป็นยูนิคอร์น หรือบริษัทที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1 พันล้านเหรียญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถ้าเข้ามาในเมืองไทยนี่เราต้องปรับตัวกันมากเลยทีเดียว แน่นอนว่าผู้บริโภคย่อมได้ประโยชน์ แต่ผู้ให้บริการต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ครับงานนี้
ในส่วนของประเทศไทย เกิดการตื่นตัวกันอย่างชัดเจนสำหรับเรื่องของ Fintech ในบ้านเรา โดยล่าสุดธนาคารพาณิชย์ชั้นนำได้เริ่มเคลื่อนไหวกันเต็มสูบแล้ว ตั้งแต่การตั้ง Lab ในการค้นคิดผลิตภัณฑ์ด้าน Fintech การจัด Training กันอย่างต่อเนื่องโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากฟากฝั่ง Tech มาให้ความรู้ การตั้งทีมภายในของธนาคารแต่ละสายงานเพื่อดูช่องโหว่หรือรอยรั่วของผลิตภัณฑ์ทางการเงินของตัวเอง ไปจนถึงการตั้งบริษัทที่เป็น Venture Capital เตรียมพร้อมที่จะเข้าลงทุนใน Fintech เกิดใหม่ในประเทศไทย
ปัจจุบันฟินเทคไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 100 บริษัท เมื่อเทียบในช่วงปีที่ผ่านมา (2559) มีอยู่ประมาณ 40 บริษัท ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และคาดว่าในอนาคตจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ แต่ต้องยอมรับว่า ฟินเทคไทยมีความแตกต่างจากหลายๆ ประเทศ คือโดยมากจะเป็นบริษัทที่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่ได้มีฐานลูกค้ามากมายเป็นของตัวเอง ผมจึงเชื่อว่าสถาบันการเงินไทยโดยเฉพาะธนาคารจะเป็นผู้นำการผลักดันการใช้ FinTech ในประเทศไทย โดยจะเป็นภาพของการจับมือกันระหว่างพี่ ๆ สถาบันการเงิน และน้อง ๆ ผู้ประกอบการ FinTech Startup ในการเติบโตไปด้วยกันครับ
ทางด้าน Techsauce มีเดียผู้นำเสนอคอนเทนต์เพื่อวงการ Tech ในโลกธุรกิจ ครอบคลุมทั้งในไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเป็นรายแรกผู้จัดงาน Tech Conference เชื่อมต่อคนเอเชียและคนทั่วโลก Techsauce ก่อตั้งโดย Community leaders ในวงการ Startup ไทย ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ FinTech ดังนี้
ชื่อ FinTech มีที่มาจากคำว่า Financial และ Technology แปลตรงตัวได้ว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมตู้ ATM ที่ช่วยให้คนกดเงินสดได้สะดวก เพียงแค่มีบัตร, บัตรเครดิต, การโอนเงินออนไลน์ เป็นต้น เหล่านี้ก็ล้วนเป็นฟินเทคอย่างหนึ่ง
อ้าวงั้น FinTech ก็มีมาตั้งนานแล้ว งั้นทำไมช่วงนี้ฮอตจัง แล้วเกี่ยวอะไรกันกับ Startup? ลองดูดีๆ 3 ตัวอย่างข้างต้นที่เราหยิบยกขึ้นมา มันมีมานานแล้ว Credit card คิดค้นตั้งแต่ปี 1950, ATM ตั้งแต่ปี 1967, Online banking ที่แรก เริ่มตั้งแต่ปี 1980 กว่าแต่ละตัวจะเกิดขึ้น ใช้เวลาห่างกันเป็นสิบๆ ปี นานๆ ทีเราจะได้เห็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ
นั่นแปลว่ายังมีช่องว่างอีกมากมายที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินของเรา ดีขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น ประหยัดขึ้น กระแสคำว่าฟินเทคเกิดขึ้น เพราะการมาของ Startup บริษัทสายเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโฉมการเงิน ได้รวดเร็วกว่าให้ลำพังบริษัทการเงินอย่างธนาคาร ต้องมาคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ
ตัวอย่างฟินเทค
ยกตัวอย่างเช่น TransferWise เป็น Startup บริการการโอนเงินข้ามประเทศ ช่วยให้โอนเงินข้ามประเทศได้เร็วกว่า และค่าธรรมเนียมถูกกว่าใช้บริการเคาท์เตอร์ของสถาบันต่างๆ
Lufax.com จากจีน และ LendingClub จากอเมริกา เป็นบริการด้าน Peer-to-peer Lending (P2P Lending) หรือการเชื่อมให้คนสองคนยืม-คืน เงินกันได้ ผ่านแอปพลิเคชัน
ตัวอย่างอื่นๆ ที่อาจจะยังไม่ใช่ยูนิคอร์น เช่น Crowdcube และ Crowdo เป็น Equity Crowdfunding ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถระดมเงินทุนจากสาธารณชนได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงการกู้เงินจากธนาคารอย่างเดียวเสมอไป
ทำไมฟินเทคถึงเป็นกระแสที่จับตามอง
เพียงแค่ไม่กี่ตัวอย่างข้างต้น ก็ช่วยให้เห็นได้แล้วว่าบริการของ Startup ช่วยนำเสนออะไรหลายอย่างที่ธนาคารทำให้ไม่ได้ หรือยังทำได้ไม่ดี แถมเรื่องเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน อุตสาหกรรมการเงิน นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และสำคัญมาก นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลที่น่าสนใจอีก เช่น
ฟินเทค และการเป็น Core ของธุรกิจอื่นๆ
ยกตัวอย่างเช่น นวัตกรรมด้าน E-payment หรือการชำระเงินออนไลน์ นับว่ามีบทบาทสำคัญมากต่อ E-commerce การจะเปลี่ยนใจคนให้มาซื้อของออนไลน์ ต้องเกิดจากระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ใช้ง่าย มีประสิทธิภาพด้วย เป็นต้น
กล่าวได้ว่าฟินเทคก่อให้เกิดตลาดใหม่อันเกิดจากการเชื่อมกันระหว่างด้านการเงินและเทคโนโลยี เป็นส่วนผสมของกระบวนการดั้งเดิมในเรื่องทางการเงินไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ – เงินทุนหมุนเวียน, Supply Chain, กระบวนการชำระเงิน, การฝาก/ถอน, ประกันชีวิต และอื่นๆ แต่แทนที่จะเป็นโครงสร้างการทำธุรกรรมแบบเดิมก็มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบและสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น
ฟินเทค และการนำมาสู่เทคโนโลยีพลิกโฉม
ในขณะนี้ กระแสเทคโนโลยีตัวใหม่ ที่กำลังมาแรง คือ Blockchain (บล็อกเชน) โดยแท้จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของบล็อกเชน มากจากความพยายามในการพัฒนาฟินเทคประเภท Bitcoin (บิทคอยน์) เพื่อสร้าง Digital currency ที่มีความน่าเชื่อถือ จนปัจจุบัน Blockchain ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย และเป็นเทคโนโลยีที่โลกกำลังจับตามองมากที่สุดในขณะนี้
ฟินเทค กับการสร้างความร่วมมือ
เมื่อทั้งองค์กรขนาดใหญ่ และองค์กรขนาดเล็กอย่าง Startup ก็ล้วนมีเป้าหมายเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน เราจึงพบเห็นความตื่นตัวของทั้งสองฝ่าย ผ่านข่าวต่างๆ ที่เรานำเสนอ
สถานการณ์ ฟินเทคในเมืองไทย ครึ่งปีแรก 2016 สามารถดูเพิ่มเติมเวอร์ชันรายงาน คลิก
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การสร้างนวัตกรรมเพื่อเข้าถึง ‘Financial Inclusion’ ด้วย FinTech และ Big Data
แหล่งข้อมูล :
มาทำความรู้จัก FinTech (ฟินเทค) กันเถอะ – Updated 2016
ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2560
[1] เจษฎา สุขทิศ นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง FINNOMENA และ บลน.อินฟินิต
FinTech คืออะไร[1]
ฟินเทค กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงกับระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเงินโลก บทความชุด “ฟินเทคเปลี่ยนโลก” ชุดนี้จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จัก Mega Trend ในเรื่องนี้กันครับ ซึ่งเริ่มต้นในตอนแรกเราไปรู้จักกันก่อนเลยครับว่าเจ้าฟินเทคนี่มันคืออะไรกันแน่
Fintech คือการผสมระหว่างคำว่า Finance กับคำว่า Technology หรือการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะระบบการสื่อสารออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจด้านการเงิน การธนาคาร และการลงทุน โดยมากกว่าการประยุกต์แล้วในหลายครั้งยังเป็นการ Disrupt ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากแบบเดิมไปสู่สิ่งใหม่อีกด้วย คล้ายๆ กับวันที่ Apple ผลิต iPhone ออกมาและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคจากการใช้มือถือแบบมีปุ่มกดเป็นมือถือระบบสัมผัสอย่างนั้นน่ะครับ ส่วน Startup นั้นหมายถึงการเกิดขึ้นของธุรกิจซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องของเทคโนโลยี ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมสำหรับผู้บริโภคที่สามารถทำการขยายได้ในวงกว้าง
สำหรับ Fintech ในเมืองไทย ตื่นตัวกันมาซักพัก มาปีนี้เรียกว่าคึกคักกันเป็นอย่างมากครับ ตัวอย่างที่ใกล้ตัวมาก ๆ เช่น การใช้โปรแกรม Streaming ในการซื้อขายหุ้นที่เริ่มมีความนิยมในการใช้เทรดหุ้น แทนการซื้อขายในห้องค้ามากขึ้น บริษัทอย่าง StockRadar ที่ทำโปรแกรมทางมือถือสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยในการซื้อขายหุ้น ระบบ Payment API อย่าง Omise รวมไปถึงระบบ Crowd Funding ซึ่งเป็นวิธีการระดมทุนผ่านระบบ Online ซึ่งล่าสุดทางสำนักงาน กลต.ก็ได้ออกกฎหมายมารองรับแล้ว
ผมเคยได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ Jamie Dimon ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ JPMorgan ซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก ท่านพูดเลยว่าคู่แข่งสำคัญของ JPMorgan ที่สำคัญจากนี้ไปไม่ใช่ธนาคารใหญ่ๆ ในอเมริกาอีกต่อไปแล้วแต่เป็นเหล่าบริษัท Fintech Startup ที่กำลังบ่มเพาะกันอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะในแถบ Silicon Valley ในสหรัฐ
ผมมองว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นแน่ครับ อยู่ที่ว่าจะเร็วหรือช้าเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระบบการชำระเงินด้วยเครดิต จากเดิมที่ยักษ์ใหญ่ในโลกคือ VISA แต่เดี๋ยวนี้ มีระบบการชำระเงินใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่าง Blockchain ซึ่งมีค่าธรรมเนียมถูกกว่ามาก ในธุรกิจซื้อขายหุ้นก็เช่นกัน เริ่มมีบริษัท Fintech หลายเจ้า อย่างเช่น Robinhood ซึ่งให้บริการซื้อขายหุ้นแบบ Zero Commission ซึ่งก็เติบโตเป็นยูนิคอร์น หรือบริษัทที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1 พันล้านเหรียญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถ้าเข้ามาในเมืองไทยนี่เราต้องปรับตัวกันมากเลยทีเดียว แน่นอนว่าผู้บริโภคย่อมได้ประโยชน์ แต่ผู้ให้บริการต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ครับงานนี้
ในส่วนของประเทศไทย เกิดการตื่นตัวกันอย่างชัดเจนสำหรับเรื่องของ Fintech ในบ้านเรา โดยล่าสุดธนาคารพาณิชย์ชั้นนำได้เริ่มเคลื่อนไหวกันเต็มสูบแล้ว ตั้งแต่การตั้ง Lab ในการค้นคิดผลิตภัณฑ์ด้าน Fintech การจัด Training กันอย่างต่อเนื่องโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากฟากฝั่ง Tech มาให้ความรู้ การตั้งทีมภายในของธนาคารแต่ละสายงานเพื่อดูช่องโหว่หรือรอยรั่วของผลิตภัณฑ์ทางการเงินของตัวเอง ไปจนถึงการตั้งบริษัทที่เป็น Venture Capital เตรียมพร้อมที่จะเข้าลงทุนใน Fintech เกิดใหม่ในประเทศไทย
ปัจจุบันฟินเทคไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 100 บริษัท เมื่อเทียบในช่วงปีที่ผ่านมา (2559) มีอยู่ประมาณ 40 บริษัท ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และคาดว่าในอนาคตจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ แต่ต้องยอมรับว่า ฟินเทคไทยมีความแตกต่างจากหลายๆ ประเทศ คือโดยมากจะเป็นบริษัทที่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่ได้มีฐานลูกค้ามากมายเป็นของตัวเอง ผมจึงเชื่อว่าสถาบันการเงินไทยโดยเฉพาะธนาคารจะเป็นผู้นำการผลักดันการใช้ FinTech ในประเทศไทย โดยจะเป็นภาพของการจับมือกันระหว่างพี่ ๆ สถาบันการเงิน และน้อง ๆ ผู้ประกอบการ FinTech Startup ในการเติบโตไปด้วยกันครับ
ทางด้าน Techsauce มีเดียผู้นำเสนอคอนเทนต์เพื่อวงการ Tech ในโลกธุรกิจ ครอบคลุมทั้งในไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเป็นรายแรกผู้จัดงาน Tech Conference เชื่อมต่อคนเอเชียและคนทั่วโลก Techsauce ก่อตั้งโดย Community leaders ในวงการ Startup ไทย ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ FinTech ดังนี้
ชื่อ FinTech มีที่มาจากคำว่า Financial และ Technology แปลตรงตัวได้ว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมตู้ ATM ที่ช่วยให้คนกดเงินสดได้สะดวก เพียงแค่มีบัตร, บัตรเครดิต, การโอนเงินออนไลน์ เป็นต้น เหล่านี้ก็ล้วนเป็นฟินเทคอย่างหนึ่ง
อ้าวงั้น FinTech ก็มีมาตั้งนานแล้ว งั้นทำไมช่วงนี้ฮอตจัง แล้วเกี่ยวอะไรกันกับ Startup? ลองดูดีๆ 3 ตัวอย่างข้างต้นที่เราหยิบยกขึ้นมา มันมีมานานแล้ว Credit card คิดค้นตั้งแต่ปี 1950, ATM ตั้งแต่ปี 1967, Online banking ที่แรก เริ่มตั้งแต่ปี 1980 กว่าแต่ละตัวจะเกิดขึ้น ใช้เวลาห่างกันเป็นสิบๆ ปี นานๆ ทีเราจะได้เห็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ
นั่นแปลว่ายังมีช่องว่างอีกมากมายที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินของเรา ดีขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น ประหยัดขึ้น กระแสคำว่าฟินเทคเกิดขึ้น เพราะการมาของ Startup บริษัทสายเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโฉมการเงิน ได้รวดเร็วกว่าให้ลำพังบริษัทการเงินอย่างธนาคาร ต้องมาคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ
ตัวอย่างฟินเทค
ยกตัวอย่างเช่น TransferWise เป็น Startup บริการการโอนเงินข้ามประเทศ ช่วยให้โอนเงินข้ามประเทศได้เร็วกว่า และค่าธรรมเนียมถูกกว่าใช้บริการเคาท์เตอร์ของสถาบันต่างๆ
Lufax.com จากจีน และ LendingClub จากอเมริกา เป็นบริการด้าน Peer-to-peer Lending (P2P Lending) หรือการเชื่อมให้คนสองคนยืม-คืน เงินกันได้ ผ่านแอปพลิเคชัน
ตัวอย่างอื่นๆ ที่อาจจะยังไม่ใช่ยูนิคอร์น เช่น Crowdcube และ Crowdo เป็น Equity Crowdfunding ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถระดมเงินทุนจากสาธารณชนได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงการกู้เงินจากธนาคารอย่างเดียวเสมอไป
ทำไมฟินเทคถึงเป็นกระแสที่จับตามอง
เพียงแค่ไม่กี่ตัวอย่างข้างต้น ก็ช่วยให้เห็นได้แล้วว่าบริการของ Startup ช่วยนำเสนออะไรหลายอย่างที่ธนาคารทำให้ไม่ได้ หรือยังทำได้ไม่ดี แถมเรื่องเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน อุตสาหกรรมการเงิน นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และสำคัญมาก นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลที่น่าสนใจอีก เช่น
ฟินเทค และการเป็น Core ของธุรกิจอื่นๆ
ยกตัวอย่างเช่น นวัตกรรมด้าน E-payment หรือการชำระเงินออนไลน์ นับว่ามีบทบาทสำคัญมากต่อ E-commerce การจะเปลี่ยนใจคนให้มาซื้อของออนไลน์ ต้องเกิดจากระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ใช้ง่าย มีประสิทธิภาพด้วย เป็นต้น
กล่าวได้ว่าฟินเทคก่อให้เกิดตลาดใหม่อันเกิดจากการเชื่อมกันระหว่างด้านการเงินและเทคโนโลยี เป็นส่วนผสมของกระบวนการดั้งเดิมในเรื่องทางการเงินไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ – เงินทุนหมุนเวียน, Supply Chain, กระบวนการชำระเงิน, การฝาก/ถอน, ประกันชีวิต และอื่นๆ แต่แทนที่จะเป็นโครงสร้างการทำธุรกรรมแบบเดิมก็มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบและสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น
ฟินเทค และการนำมาสู่เทคโนโลยีพลิกโฉม
ในขณะนี้ กระแสเทคโนโลยีตัวใหม่ ที่กำลังมาแรง คือ Blockchain (บล็อกเชน) โดยแท้จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของบล็อกเชน มากจากความพยายามในการพัฒนาฟินเทคประเภท Bitcoin (บิทคอยน์) เพื่อสร้าง Digital currency ที่มีความน่าเชื่อถือ จนปัจจุบัน Blockchain ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย และเป็นเทคโนโลยีที่โลกกำลังจับตามองมากที่สุดในขณะนี้
ฟินเทค กับการสร้างความร่วมมือ
เมื่อทั้งองค์กรขนาดใหญ่ และองค์กรขนาดเล็กอย่าง Startup ก็ล้วนมีเป้าหมายเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน เราจึงพบเห็นความตื่นตัวของทั้งสองฝ่าย ผ่านข่าวต่างๆ ที่เรานำเสนอ
สถานการณ์ ฟินเทคในเมืองไทย ครึ่งปีแรก 2016 สามารถดูเพิ่มเติมเวอร์ชันรายงาน คลิก
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การสร้างนวัตกรรมเพื่อเข้าถึง ‘Financial Inclusion’ ด้วย FinTech และ Big Data
แหล่งข้อมูล :
มาทำความรู้จัก FinTech (ฟินเทค) กันเถอะ – Updated 2016
ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2560
[1] เจษฎา สุขทิศ นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง FINNOMENA และ บลน.อินฟินิต
การอ่าน | |
---|---|
5215 | ครั้ง (ทั้งหมด) |
0 | ครั้ง โดยสมาชิก |
5215 | ครั้ง โดยสาธารณะ |
แชร์ด้วยอีเมล
กรุณา ลงชื่อเข้าระบบ เพิ่มแชร์เนื้อหานี้ webpage ทางอีเมล