บทความน่ารู้
แก้ไขล่าสุดเมื่อ:
30/05/2020
ทำธุรกิจ “แฟรนไชส์” ไม่ยาก หากทำตาม 6 ข้อนี้ รับรองรุ่งแน่!
อ่าน 372 ครั้ง •Food Truck ไม่ต้องมีหน้าร้านก็มีลูกค้าประจำได้
อ่าน 548 ครั้ง •8 อุตสาหกรรมที่ดีสำหรับการเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพ
อ่าน 378 ครั้ง •ธุรกิจฮอตฮิตเกิดใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกในเดือน พ.ค. 2562 คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ
อ่าน 275 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 1103 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1635 ครั้ง •“สิงคโปร์” แซง “สหรัฐ” ขึ้นแท่นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในโลก
อ่าน 376 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 5227 ครั้ง •เช็คลิสต์ โมเดลธุรกิจที่เหมาะกับการทำ อีคอมเมิร์ซ (eCommerce)
อ่าน 627 ครั้ง •ขายของออนไลน์ ทำอย่างไรให้รวย
อ่าน 413 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 905 ครั้ง •การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
อ่าน 690 ครั้ง •การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า – อย่าปล่อยให้โลโก้โดนขโมย
อ่าน 669 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 2537 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1941 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 793 ครั้ง •ผู้ประกอบการ SMEs เมื่อไหร่ ที่ต้องมีแบรนด์
อ่าน 309 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 7002 ครั้ง •แอ็พพลิเคชั่น (Application) เพื่อสมาร์ทฟาร์เมอร์ – เกษตรกรแห่งอนาคต
อ่าน 618 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 1090 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 7002 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 5227 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจอาหาร
อ่าน 2831 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 2537 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1941 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1635 ครั้ง •เขียนแผนธุรกิจอย่างไรให้โดน
อ่าน 1136 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 1103 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 1090 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 905 ครั้ง •Business Model Canvas เครื่องมือสร้างโมเดลธุรกิจ
อ่าน 817 ครั้ง •เงินสดหมุนเวียน หัวใจของธุรกิจ SMEs
อ่าน 813 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 793 ครั้ง •การวางแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการ
อ่าน 742 ครั้ง •การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์
อ่าน 725 ครั้ง •การเขียนแผนธุรกิจเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน
อ่าน 704 ครั้ง •E - COMMERCE สำหรับสินค้า OTOP
อ่าน 703 ครั้ง •สาเหตุอะไรที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้
อ่าน 698 ครั้ง •การปรับโครงสร้างหนี้
อ่าน 695 ครั้ง •การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
อ่าน 690 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
06 ธันวาคม 2561
26 | โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
ผม[1]เชื่อว่านักธุรกิจทุกคนเคยได้ยินคำว่า “แผนธุรกิจ” หรือ “Business Plan” ไม่ว่าคุณจะจบทางด้านธุรกิจมาหรือไม่ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ทกคนก็จะพูดว่าธุรกิจควรจะต้องมีแผนธุรกิจ เวลาไปขอเงินกู้หรือนำเสนอบริษัทเราให้กับใคร “แผนธุรกิจ” นี้ก็มักจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการนำเสนอว่าบริษัทเรามีอนาคตหรือไม่ และเราเป็นผู้ประกอบการที่เก่งกาจขนาดไหน
แต่ทั้งนี้ หลายๆ คนก็ทราบกันดีว่าแม้จะทำแผนธุรกิจมาดีมากเพียงใด แต่ในการปฏิบัติจริงก็มักจะไม่เป็นไปตามแผน อาจเพราะเราไม่ได้มีวินัยพอที่จะคอยปฏิบัติได้ตามสิ่งที่คิดไว้ รูปแบบของแผนธุรกิจไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในการวางแผนงาน หรือในความเป็นจริงแล้ว จะมีปัจจัยภายนอกหรือสิ่งที่นอกเหนือความคาดหมายมากระทบแผนของเราตลอดเวลา ทำให้คลาดเคลื่อน และไม่มีเวลามาคอยนั่งปรับแผนได้ตลอดเวลาจนต้องยอมทิ้งไปในที่สุด
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในฐานะคนที่เคยเรียน ทำ ประกวด อ่าน และติดตามผลจากการทำแผนธุรกิจมาหลายสิบฉบับ คงต้องบอกว่าแม้ว่าการทำ “แผนธุรกิจ” นั้น อาจไม่ได้ถูกนำมาใช้จริงเสมอไป แต่มันเป็นเครื่องมือในการ “วางแผน” ให้เราเข้าใจธุรกิจตัวเอง เห็นภาพแนวทางการดำเนินงาน และวางชิ้นส่วนกิจกรรมการผลิต การตลาด การจ้างคนให้เป็นภาพร่างๆได้ดี รวมไปถึงการคำนวณความคุ้มทุนในการทำธุรกิจ หรือทีเรียกว่า “การทำ feasibility” ได้ดีอีกด้วย ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบของแผนธุรกิจและผลพลอยได้ที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรและผู้ประกอบการนั้นก็คือ การกำหนดและเข้าใจ “Business Model” หรือ “โมเดลธุรกิจ” ของตัวเอง เพราะ “Business Model” นี้จะเป็นตัวที่จะตอบคำถามว่า “เราหารายได้อย่างไร” และผู้ซื้อเขา “ได้อะไรไปจากเรา”
ในโลกของการทำธุรกิจจริง แม้สิ่งที่เราทำอาจจะหลุดไปจากแผนธุรกิจเพียงใด แต่ในส่วนใหญ่แล้ว “Business Model” นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นในฉบับนี้ จึงอยากจะขอขยายความเรื่องความแตกตากของสองสิ่งนี้เพิ่มเติมอีกสักนิดนะครับ
Business Model ภาษาไทยบางที่แปลคำว่า “Business Model” ว่า “แบบจำลองธุรกิจ” แต่ผมคิดว่าความหมายที่เหมาะสมน่าจะเป็น “โครงสร้างการทำรายได้ของธุรกิจ” หรือเรียกทับศัพท์ไปเลยมากกว่า เนื่องจาก “โมเดลธุรกิจ” นี้สิ่งที่จะบอกว่าธุรกิจเรา “ทำเงินอย่างไร” โดยจะคำนึงถึงเฉพาะคุณค่าหลักๆ ที่ลูกค้าของเราต้องการจากเราและยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับการทำธุรกรรมกับเรา รวมไปถึงวิธีการและค่าใช้จ่ายที่เราใช้กับทาง supplier ของเราหรือคนกับทรัพยากรอื่นๆของเรา เพื่อนำให้มาสู่คุณค่าดังกล่าวนั้นๆ
ยกตัวอย่างเช่น ร้านค้าสะดวกซื้อร้านหนึ่ง สร้างรายได้จากการขายของหลายชิ้น รวมไปถึงให้บริการอื่นๆ เช่น การรับจ่ายบิลโทรศัพท์ หรือเป็นที่ส่งของจากการซื้อของออนไลน์ ซึ่งร้านสะดวกซื้อนี้มีพนักงานที่มีความเป็นมิตรสูงและแอร์ที่เย็นฉ่ำ ลูกค้าจึงชื่นชอบที่จะเดินเข้ามาเพื่อรับบรรยากาศผ่อนคลาย สบายตัว และหาซื้ออะไรสดชื่นๆ กลับไปเล็กๆ น้อยๆ
สำหรับตัวอย่างนี้ เวลาเราพูดถึง “โมเดลธุรกิจ” เราจะพูดเฉพาะการ “ขายสินค้าที่เราสต็อคไว้ให้กับผู้ซื้อ” เพราะมันคือ “รายได้หลัก” ที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด แม้จะมีรายได้รายย่อยจากทางอื่น รวมถึงคุณค่าอื่นๆที่ทำให้คนซื้อ แต่มันคือเหตุผลหลักเหตุผลเดียวที่เราควรจะให้ความสำคัญและคอยวัดผล เพราะมันคือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจอยู่ได้
ทั้งนี้โมเดลธุรกิจในโลกนี้มีหลายประเภท แล้วแต่เทคนิคการทำธุรกิจเรา อาจจะขึ้นอยู่กับการจัดจำหน่ายสินค้า หรือนวัตกรรมอื่นๆ เช่น การทำธุรกิจแฟรนไชส์ การขายของออนไลน์ ก็เป็นได้ หากใครมีปัญหาในการคิดโมเดลธุรกิจตัวเองออกมาเป็นภาพแล้ว ในปัจจุบัน ได้มีเครื่องมือในการคิดและวาดโมเดลธุรกิจออกมาชื่อว่า Business Model Canvas ซึ่งมีเป็นทั้งแผนภาพและเนื้อหาให้สามารถอ่านกันได้ออนไลน์ หรือเป็นหนังสือที่สามารถตามหาซื้อกันได้ในร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำความเข้าใจธุรกิจตัวเองและนำมาใช้พูดคุยกับคนภายนอกครับ
Business Plan แผนธุรกิจเป็นเรื่องของ “รายละเอียด” ของธุรกิจของเรา โดยจะเป็นการขยายความ “โมเดลธุรกิจ” มาเป็นกิจกรรมการตลาด การหาทรัพยากรคน การจัดซื้อ การหาแหล่งเงินทุน การวิเคราะห์คู่แข่ง แผนการเติบโต และแผนดำเนินการอื่นๆ ในรอบหนึ่งปีถึงสามปีและการวางแผนการเงินและวิเคราะห์การดำเนินการในปัจจุบัน รวมไปถึงการวางเป้าหมายการดำเนินงาน วิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์กร หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “Business Model” คือสิ่งที่บ่งบอกว่า เรา “หารายได้” ได้อย่างไร ส่วนแผนธุรกิจนั้น เป็นตัวบ่งบอกว่า เราจะ”ทำอะไรบ้าง” เพื่อให้ได้มา รักษา และต่อยอดวิธีการหารายได้ที่ว่านั้น
ทั้งนี้ แม้ในหลักการแล้ว เราควรจะเข้าใจ “Business Model” ของตัวเองก่อน จึงจะสามารถทำแผนธุรกิจได้ แต่ในหลายๆ ครั้ง สิ่งที่เรามีในตอนแรกคือ “ไอเดีย” ที่เราอาจจะไม่เคยเอามาคำนวณด้วยซ้ำว่าสร้างกำไรได้แค่ไหน การทำแผนธุรกิจและวิเคราะห์กำไรขาดทุนนั้น จึงมักจะทำให้เราเห็นภาพการดำเนินธุรกิจของตนเองและตกผลึกมาเป็น “Business Model” ที่แท้จริงอีกทีอยู่เป็นประจำครับ โดยในบางครั้ง อาจพบว่า “ไอเดียธุรกิจ” ที่เริ่มต้นนั้น อาจเป็นแค่สิ่งที่เรา “อยากทำ” ให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แต่ไม่ใช่รายได้หลักที่จะทำให้ธุรกิจสามารถไปรอดและยั่งยืนในอนาคตได้
แต่สุดท้ายแล้ว เมื่อเราเข้าใจโมเดลธุรกิจของตนเอง จะเห็นว่า แผนธุรกิจนั้นจะเป็นอย่างไร มันขึ้นอยู่กับโมเดลธุรกิจเป็นหลักทั้งนั้น เพราะแม้แผนธุรกิจจะมีเนื้อหาแน่นปึ้กเพียงใด แต่มันก็คือโครงสร้างที่ถูกสร้างขึ้นมาจากเสาหลักของโมเดลธุรกิจที่เป็นตัวบ่งบอกการไหลเวียนของเงิน แผนธุรกิจสามารถเปลี่ยนได้ทุกวันโดยไม่กระทบโมเดลธุรกิจ แต่หากวันใดโมเดลธุรกิจเปลี่ยน แผนธุรกิจมักจะต้องเปลี่ยนตามอย่างแน่นอน
ในปัจจุบัน ภายใต้กระแสของการเกิดขึ้นของบริษัทเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า Tech Startups หรือสั้นๆว่า Startup นั้น การทำความเข้าใจ “Business Model” ของตนเองนั้นสำคัญมาก เพราะในหลายๆครั้ง คนจะมีไอเดียในการสร้างอะไรบางอย่าง โดยไม่ได้มองถึงเรื่องว่าจะหารายได้จากมันได้อย่างไร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจไม่สามารถอยู่รอดได้ เพราะคนทำไม่มีเงินหาเลี้ยงชีพ ซึ่งจริงๆไม่ใช่เรื่องผิดเสมอไป แต่คนทำต้องเข้าใจก่อนว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่มันเป็นเหมือนงานศิลปะที่อาจทำให้ตนเองและคนอื่นบางกลุ่มมีความสุขได้ แต่ไม่มากพอที่จะก่อให้เกิดรายได้ และทำให้ยั่งยืน ยังจำเป็นต้องมีงานประจำอยู่
ยกตัวอย่างเช่น Facebook กับ Google คนส่วนใหญ่จะรู้จักในฐานะ Social Network กับ Search Engine ที่เราใช้ในการคุยกับเพื่อน แชร์ข้อมูล หรือค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต แต่ Business Model ของสองตัวนี้จริงๆแล้วคือ การขายโฆษณา ซึ่งบริษัททั้งสองนี้จะอยู่ไม่ได้เลนหากไม่ยอมทำระบบโฆษณาที่ชาญฉลาดขึ้นมาที่ทำให้ทั้งผู้โฆษณาและผู้ใช้มีความสุขได้ ซึ่งสองบริษัทนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่ “หน้าที่หลัก” ของสินค้าหรือบริการ อาจไม่ใช่ “โมเดลธุรกิจ” เสมอไป และในการทำแผนธุรกิจ หรือแผนพัฒนา จะต้องคอยนึกถึงว่ามันเอื้ออำนวยไปสู่การ “สร้างรายได้” ด้วยวิธีเหล่านั้นได้อย่างไรอีกด้วย
สำหรับท่านผู้อ่านที่ชอบคิดสร้างสิ่งใหม่ แต่คิดเรื่องหารายได้ไม่เก่ง อยากฝากบอกว่าการหาเงินไม่ใช่เรื่องไม่สนุกนะครับ ลองทำความเข้าใจถึง “คุณค่า” ของสิ่งที่เราสร้างให้เจอ และตกผลึกมันออกมาเป็น “โมเดลธุรกิจ” ที่ลงตัว แล้วเราจะสามารถได้ทำในสิ่งที่เรารัก และหาเลี้ยงชีพไปกับมนได้ในระยะยาวครับ
แหล่งข้อมูล :
Business Models vs. Business Plans อะไรคือโมเดลธุรกิจและแผนธุรกิจ
ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560
[1] เลอทัด ศุภดิลก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริหารจัดการบริษัท Sellsuki จำกัด และกรรมการบริษัท Flyingcomma จำกัด
06 ธันวาคม 2561
26 | โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
ผม[1]เชื่อว่านักธุรกิจทุกคนเคยได้ยินคำว่า “แผนธุรกิจ” หรือ “Business Plan” ไม่ว่าคุณจะจบทางด้านธุรกิจมาหรือไม่ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ทกคนก็จะพูดว่าธุรกิจควรจะต้องมีแผนธุรกิจ เวลาไปขอเงินกู้หรือนำเสนอบริษัทเราให้กับใคร “แผนธุรกิจ” นี้ก็มักจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการนำเสนอว่าบริษัทเรามีอนาคตหรือไม่ และเราเป็นผู้ประกอบการที่เก่งกาจขนาดไหน
แต่ทั้งนี้ หลายๆ คนก็ทราบกันดีว่าแม้จะทำแผนธุรกิจมาดีมากเพียงใด แต่ในการปฏิบัติจริงก็มักจะไม่เป็นไปตามแผน อาจเพราะเราไม่ได้มีวินัยพอที่จะคอยปฏิบัติได้ตามสิ่งที่คิดไว้ รูปแบบของแผนธุรกิจไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในการวางแผนงาน หรือในความเป็นจริงแล้ว จะมีปัจจัยภายนอกหรือสิ่งที่นอกเหนือความคาดหมายมากระทบแผนของเราตลอดเวลา ทำให้คลาดเคลื่อน และไม่มีเวลามาคอยนั่งปรับแผนได้ตลอดเวลาจนต้องยอมทิ้งไปในที่สุด
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในฐานะคนที่เคยเรียน ทำ ประกวด อ่าน และติดตามผลจากการทำแผนธุรกิจมาหลายสิบฉบับ คงต้องบอกว่าแม้ว่าการทำ “แผนธุรกิจ” นั้น อาจไม่ได้ถูกนำมาใช้จริงเสมอไป แต่มันเป็นเครื่องมือในการ “วางแผน” ให้เราเข้าใจธุรกิจตัวเอง เห็นภาพแนวทางการดำเนินงาน และวางชิ้นส่วนกิจกรรมการผลิต การตลาด การจ้างคนให้เป็นภาพร่างๆได้ดี รวมไปถึงการคำนวณความคุ้มทุนในการทำธุรกิจ หรือทีเรียกว่า “การทำ feasibility” ได้ดีอีกด้วย ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบของแผนธุรกิจและผลพลอยได้ที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรและผู้ประกอบการนั้นก็คือ การกำหนดและเข้าใจ “Business Model” หรือ “โมเดลธุรกิจ” ของตัวเอง เพราะ “Business Model” นี้จะเป็นตัวที่จะตอบคำถามว่า “เราหารายได้อย่างไร” และผู้ซื้อเขา “ได้อะไรไปจากเรา”
ในโลกของการทำธุรกิจจริง แม้สิ่งที่เราทำอาจจะหลุดไปจากแผนธุรกิจเพียงใด แต่ในส่วนใหญ่แล้ว “Business Model” นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นในฉบับนี้ จึงอยากจะขอขยายความเรื่องความแตกตากของสองสิ่งนี้เพิ่มเติมอีกสักนิดนะครับ
Business Model ภาษาไทยบางที่แปลคำว่า “Business Model” ว่า “แบบจำลองธุรกิจ” แต่ผมคิดว่าความหมายที่เหมาะสมน่าจะเป็น “โครงสร้างการทำรายได้ของธุรกิจ” หรือเรียกทับศัพท์ไปเลยมากกว่า เนื่องจาก “โมเดลธุรกิจ” นี้สิ่งที่จะบอกว่าธุรกิจเรา “ทำเงินอย่างไร” โดยจะคำนึงถึงเฉพาะคุณค่าหลักๆ ที่ลูกค้าของเราต้องการจากเราและยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับการทำธุรกรรมกับเรา รวมไปถึงวิธีการและค่าใช้จ่ายที่เราใช้กับทาง supplier ของเราหรือคนกับทรัพยากรอื่นๆของเรา เพื่อนำให้มาสู่คุณค่าดังกล่าวนั้นๆ
ยกตัวอย่างเช่น ร้านค้าสะดวกซื้อร้านหนึ่ง สร้างรายได้จากการขายของหลายชิ้น รวมไปถึงให้บริการอื่นๆ เช่น การรับจ่ายบิลโทรศัพท์ หรือเป็นที่ส่งของจากการซื้อของออนไลน์ ซึ่งร้านสะดวกซื้อนี้มีพนักงานที่มีความเป็นมิตรสูงและแอร์ที่เย็นฉ่ำ ลูกค้าจึงชื่นชอบที่จะเดินเข้ามาเพื่อรับบรรยากาศผ่อนคลาย สบายตัว และหาซื้ออะไรสดชื่นๆ กลับไปเล็กๆ น้อยๆ
สำหรับตัวอย่างนี้ เวลาเราพูดถึง “โมเดลธุรกิจ” เราจะพูดเฉพาะการ “ขายสินค้าที่เราสต็อคไว้ให้กับผู้ซื้อ” เพราะมันคือ “รายได้หลัก” ที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด แม้จะมีรายได้รายย่อยจากทางอื่น รวมถึงคุณค่าอื่นๆที่ทำให้คนซื้อ แต่มันคือเหตุผลหลักเหตุผลเดียวที่เราควรจะให้ความสำคัญและคอยวัดผล เพราะมันคือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจอยู่ได้
ทั้งนี้โมเดลธุรกิจในโลกนี้มีหลายประเภท แล้วแต่เทคนิคการทำธุรกิจเรา อาจจะขึ้นอยู่กับการจัดจำหน่ายสินค้า หรือนวัตกรรมอื่นๆ เช่น การทำธุรกิจแฟรนไชส์ การขายของออนไลน์ ก็เป็นได้ หากใครมีปัญหาในการคิดโมเดลธุรกิจตัวเองออกมาเป็นภาพแล้ว ในปัจจุบัน ได้มีเครื่องมือในการคิดและวาดโมเดลธุรกิจออกมาชื่อว่า Business Model Canvas ซึ่งมีเป็นทั้งแผนภาพและเนื้อหาให้สามารถอ่านกันได้ออนไลน์ หรือเป็นหนังสือที่สามารถตามหาซื้อกันได้ในร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำความเข้าใจธุรกิจตัวเองและนำมาใช้พูดคุยกับคนภายนอกครับ
Business Plan แผนธุรกิจเป็นเรื่องของ “รายละเอียด” ของธุรกิจของเรา โดยจะเป็นการขยายความ “โมเดลธุรกิจ” มาเป็นกิจกรรมการตลาด การหาทรัพยากรคน การจัดซื้อ การหาแหล่งเงินทุน การวิเคราะห์คู่แข่ง แผนการเติบโต และแผนดำเนินการอื่นๆ ในรอบหนึ่งปีถึงสามปีและการวางแผนการเงินและวิเคราะห์การดำเนินการในปัจจุบัน รวมไปถึงการวางเป้าหมายการดำเนินงาน วิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์กร หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “Business Model” คือสิ่งที่บ่งบอกว่า เรา “หารายได้” ได้อย่างไร ส่วนแผนธุรกิจนั้น เป็นตัวบ่งบอกว่า เราจะ”ทำอะไรบ้าง” เพื่อให้ได้มา รักษา และต่อยอดวิธีการหารายได้ที่ว่านั้น
ทั้งนี้ แม้ในหลักการแล้ว เราควรจะเข้าใจ “Business Model” ของตัวเองก่อน จึงจะสามารถทำแผนธุรกิจได้ แต่ในหลายๆ ครั้ง สิ่งที่เรามีในตอนแรกคือ “ไอเดีย” ที่เราอาจจะไม่เคยเอามาคำนวณด้วยซ้ำว่าสร้างกำไรได้แค่ไหน การทำแผนธุรกิจและวิเคราะห์กำไรขาดทุนนั้น จึงมักจะทำให้เราเห็นภาพการดำเนินธุรกิจของตนเองและตกผลึกมาเป็น “Business Model” ที่แท้จริงอีกทีอยู่เป็นประจำครับ โดยในบางครั้ง อาจพบว่า “ไอเดียธุรกิจ” ที่เริ่มต้นนั้น อาจเป็นแค่สิ่งที่เรา “อยากทำ” ให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แต่ไม่ใช่รายได้หลักที่จะทำให้ธุรกิจสามารถไปรอดและยั่งยืนในอนาคตได้
แต่สุดท้ายแล้ว เมื่อเราเข้าใจโมเดลธุรกิจของตนเอง จะเห็นว่า แผนธุรกิจนั้นจะเป็นอย่างไร มันขึ้นอยู่กับโมเดลธุรกิจเป็นหลักทั้งนั้น เพราะแม้แผนธุรกิจจะมีเนื้อหาแน่นปึ้กเพียงใด แต่มันก็คือโครงสร้างที่ถูกสร้างขึ้นมาจากเสาหลักของโมเดลธุรกิจที่เป็นตัวบ่งบอกการไหลเวียนของเงิน แผนธุรกิจสามารถเปลี่ยนได้ทุกวันโดยไม่กระทบโมเดลธุรกิจ แต่หากวันใดโมเดลธุรกิจเปลี่ยน แผนธุรกิจมักจะต้องเปลี่ยนตามอย่างแน่นอน
ในปัจจุบัน ภายใต้กระแสของการเกิดขึ้นของบริษัทเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า Tech Startups หรือสั้นๆว่า Startup นั้น การทำความเข้าใจ “Business Model” ของตนเองนั้นสำคัญมาก เพราะในหลายๆครั้ง คนจะมีไอเดียในการสร้างอะไรบางอย่าง โดยไม่ได้มองถึงเรื่องว่าจะหารายได้จากมันได้อย่างไร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจไม่สามารถอยู่รอดได้ เพราะคนทำไม่มีเงินหาเลี้ยงชีพ ซึ่งจริงๆไม่ใช่เรื่องผิดเสมอไป แต่คนทำต้องเข้าใจก่อนว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่มันเป็นเหมือนงานศิลปะที่อาจทำให้ตนเองและคนอื่นบางกลุ่มมีความสุขได้ แต่ไม่มากพอที่จะก่อให้เกิดรายได้ และทำให้ยั่งยืน ยังจำเป็นต้องมีงานประจำอยู่
ยกตัวอย่างเช่น Facebook กับ Google คนส่วนใหญ่จะรู้จักในฐานะ Social Network กับ Search Engine ที่เราใช้ในการคุยกับเพื่อน แชร์ข้อมูล หรือค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต แต่ Business Model ของสองตัวนี้จริงๆแล้วคือ การขายโฆษณา ซึ่งบริษัททั้งสองนี้จะอยู่ไม่ได้เลนหากไม่ยอมทำระบบโฆษณาที่ชาญฉลาดขึ้นมาที่ทำให้ทั้งผู้โฆษณาและผู้ใช้มีความสุขได้ ซึ่งสองบริษัทนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่ “หน้าที่หลัก” ของสินค้าหรือบริการ อาจไม่ใช่ “โมเดลธุรกิจ” เสมอไป และในการทำแผนธุรกิจ หรือแผนพัฒนา จะต้องคอยนึกถึงว่ามันเอื้ออำนวยไปสู่การ “สร้างรายได้” ด้วยวิธีเหล่านั้นได้อย่างไรอีกด้วย
สำหรับท่านผู้อ่านที่ชอบคิดสร้างสิ่งใหม่ แต่คิดเรื่องหารายได้ไม่เก่ง อยากฝากบอกว่าการหาเงินไม่ใช่เรื่องไม่สนุกนะครับ ลองทำความเข้าใจถึง “คุณค่า” ของสิ่งที่เราสร้างให้เจอ และตกผลึกมันออกมาเป็น “โมเดลธุรกิจ” ที่ลงตัว แล้วเราจะสามารถได้ทำในสิ่งที่เรารัก และหาเลี้ยงชีพไปกับมนได้ในระยะยาวครับ
แหล่งข้อมูล :
Business Models vs. Business Plans อะไรคือโมเดลธุรกิจและแผนธุรกิจ
ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560
[1] เลอทัด ศุภดิลก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริหารจัดการบริษัท Sellsuki จำกัด และกรรมการบริษัท Flyingcomma จำกัด
การอ่าน | |
---|---|
2537 | ครั้ง (ทั้งหมด) |
0 | ครั้ง โดยสมาชิก |
2537 | ครั้ง โดยสาธารณะ |
แชร์ด้วยอีเมล
กรุณา ลงชื่อเข้าระบบ เพิ่มแชร์เนื้อหานี้ webpage ทางอีเมล